ประกันสุขภาพเหมาจ่าย อลิอันซ์ 2565

แผนประกันสุขภาพเหมาจ่าย อลิอันซ์ อยุธยา

Update ล่าสุดวันที่ 20 เมษายน 2565 แผนประกันสุขภาพ ของบริษัทอลิอันซ์ อยุธยา Allianz Ayudya ได้คลอดออกมาใหม่ แผนประกันสุขภาพแผนนี้ ชื่อ ประกันสุขภาพ ปลดล็อค Double Care ซึ่งมาแทนแผน ปลดล็อคอัลตร้า

โดยภาพรวมแล้วความคุ้มครองที่ลูกค้าจะได้รับเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัว มีการคิดค่าห้องแบบใหม่ ดับเบิ้ลความคุ้มครองกับโรคร้ายแรง  มีการให้สิทธิ์ OPD Follow up และยังมีรายละเอียดอีกหลายอย่าง  โดยที่ราคาเบี้ยประกันแพงขึ้นหลักร้อยถึงหลักพันต้น ๆ (ต่อปี)

สำหรับรายละเอียดแผนประกันใหม่นี้ คุณสามารถอ่านได้โดยการกดตรงนี้ แผนประกันสุขภาพปลดล็อค ดับเบิล แคร์

IPD คือ การที่ผู้ป่วยต้องนอนค้างคืนในโรงพยาบาล หรือมีการพักอยู่ในโรงพยาบาลตั้งแต่ 6 ชั่วโมงขึ้นไป

OPD คือ การที่ผู้ป่วยมารับการรักษา หรือรับยา แล้วก็เดินทางกลับบ้าน เช่น เป็นหวัดทั่วไป หาหมอ รับยา กลับบ้าน

การสำรองจ่าย คือการที่ผู้เอาประกันออกเงินของตัวเองไปก่อน แล้วค่อยไปเคลมเงินค่ารักษาจากบริษัทประกันภายหลัง

การร่วมกันจ่ายค่ารักษาระหว่างผู้เอาประกันสุขภาพกับบริษัท  ตัวอย่างเช่น

Copayment 10%

ถ้าค่ารักษาพยาบาล 100,000 บาท  บริษัทจะออก 90,000 บาท และผู้เอาประกันจะต้องออกเงิน 10,000 บาท

การที่ผู้เอาประกันต้องออกเงินของตัวเองไปก่อน เมื่อค่ารักษาเกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ บริษัทจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายตามแผนความคุ้มครองประกันสุขภาพที่ได้ซื้อไว้  เช่น

Deductible 30,000 บาท หมายความว่า  ถ้าค่ารักษา 50,000 บาท  ลูกค้าจะต้องออก 30,000 บาท และบริษัทออก 20,000 บาท

ระยะเวลาที่ประกันสุขภาพยังไม่ให้ความคุ้มครอง

1. ตอนนี้คุณมีสวัสดิการอะไรอยู่แล้วบ้าง มีความคุ้มครองอะไรบ้าง

สวัสดิการสุขภาพ

2. โรงพยาบาลในดวงใจของคุณ  ถ้าเหตุด่วนฉุกเฉินมาก ๆ คุณจะเข้าโรงพยาบาลไหน?  ถ้าอยากได้บริการดี ๆ ขับรถไกลขึ้นมาหน่อย คุณจะเข้าโรงพยาบาลไหนครับ?

โรงพยาบาลแถวบ้าน

3. ค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลในดวงใจคุณ ลองพิมพ์ค้นหาใน google ก็ได้ครับ ตัวอย่างเช่น “ค่าห้อง รพ ในดวงใจ” หรือ “ค่ารักษาโรค….. รพ ในดวงใจ” หรือถ้ายังไม่แน่ใจก็สอบถามผมมาได้ครับ

ค่ารักษาพยาบาล
  1. เมื่อคุณมีตัวเลขพวกนี้อยู่ในหัว คุณก็ลองทักตัวแทนประกันชีวิตที่คุณรู้จัก ลองขอคำแนะนำ ขอข้อเสนอครับ
ทีมงานตัวแทนประกันชีวิต
  1. เปรียบเทียบประกันสุขภาพของบริษัทต่าง ๆ ครับ ขั้นตอนนี้คุณต้องดูเครื่องหมายดอกจันให้ดี ๆ ครับ

ทุกครั้งที่เห็นเครื่องหมายดอกจัน คุณควรอ่านละทำความเข้าใจครับ  ถ้าไม่เข้าใจก็สอบถามตัวแทนว่ามันหมายความว่าอย่างไร

  1. แผนประกันสุขภาพที่ดี ควรจะครอบคลุมรอบด้านและตอบโจทย์ค่ารักษาในปัจจุบันและในอนาคตด้วยครับ
กรินทร์

7. ถูกใจเจ้าไหน ลองเอาชื่อบริษัทไปค้นใน google ครับ เช่น  “บริษัทA เคลมยากไหม”  อะไรพวกนี้ครับ ลองค้นหาดูว่าชาวเน็ตท่านอื่นมีประสบการณ์อย่างไร  แต่ก็อยากให้ฟังหูไว้หูนะครับ

ผมเชื่อว่าแทบทุกบริษัทก็คงมีคนบ่นคนไม่พอใจบ้างครับ  มันเป็นเรื่องปกติ  คนขายของออนไลน์ยังไม่ได้คะแนน 5 ดาวเต็มทุกคนเลยจริงไหมครับ?

กรินทร์กับพี่หญิง

8. เลือกตัวแทนที่มีความเป็นมืออาชีพและมีทีมงานที่สามารถดูแลคุณต่อได้ครับ วันนึงถ้าคุณต้องเคลมหรือมีข้อสงสัยอะไร … คน ๆ นี้แหล่ะครับที่จะดูแลคุณ ถ้าตัวแทนคนนี้ไม่อยู่  จะมีใครในทีมงานของเขาที่จะมาดูแลคุณต่อหรือไม่?

9. คุณต้องดูที่ความสามารถในการจ่ายของคุณด้วยครับ โดยปกติแล้วเบี้ยประกันสุขภาพนั้นจะถูกปรับขึ้นทุก ๆ 5 ปีครับ และปรับเปลี่ยนตามอาชีพที่คุณทำครับ

เพิ่มเบี้ยประกัน

10. เมื่อได้รับกรมธรรม์แล้ว ให้ตรวจสอบความถูกต้อง  คุณสามารถทำเรื่องยกเลิกกรมธรรม์ได้ภายใน 15 วันหลังจากได้รับกรมธรรม์   ช่วงเวลา 15 วันนี้เรียกว่า Free Look Period

free look

คุณทราบหรือไม่ว่าจากสถิติ ประเทศไทยเราเงินเฟ้อปีล่ะประมาณ 3% ในขณะที่ค่ารักษาพยาบาลจะแพงขึ้นประมาณปีล่ะ 9%

แค่กลางปี 2022 อัตราเงินเฟ้อก็พุ่งทะลุเกิน 5% ไปแล้วครับ  แล้วค่ารักษาพยาบาลก็น่าจะเพิ่มขึ้นไปอีกครับ

Rule of 72

ผมจะแนะนำวิธีการคำนวณ Rule of 72 นะครับ  มันคืออะไรหรอครับ?  เป็นสูตรคำนวณง่าย ๆ ครับว่า

ของราคา 100 บาท จะใช้เวลากี่ปีเพิ่มจาก 100 บาทเป็น 200 บาท

เริ่มด้วยเงินเฟ้อของไทยที่ 3% ครับ

จำนวนปี = 72/อัตราเงินเฟ้อ

= 72/3

= 24

ลองนึกภาพดี ๆ ครับ เมื่อ 24 ปีก่อน  ข้าวจานล่ะเท่าไร แล้วปัจจุบันจานล่ะเท่าไร  พอเห็นภาพไหมครับ?

ส่วนค่ารักษาพยาบาลนั้นแพงขึ้นปีล่ะ 9%

จำนวนปี = 72/อัตราเงินเฟ้อ

= 72/9

= 8

หมายความว่า ค่ารักษาพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนจะแพงขึ้นเท่าตัวทุก ๆ 8 ปีครับ

ลงทุนแมนกับประกัน

ที่มา https://www.longtunman.com/25627

เพื่อน ๆ พอจะทราบไหมครับว่า 9% ต่อปีนี้หมายความว่าอย่างไร?

9% ต่อปี = ทุก ๆ 8 ปี ค่ารักษาพยาบาลจะแพงขึ้น 1 เท่าตัวครับ

ยกตัวอย่าง

อายุ 30 ปี ค่ารักษา 500,000 บาท
อายุ 38 ปี ค่ารักษา 1000,000 บาท

อายุ 46 ปี ค่ารักษา 2,000,000 บาท

อายุ 54 ปี ค่ารักษา 4,000,000 บาท

อายุ 60 ปี ค่ารักษา 8,000,000 บาท

อายุ 66 ปี ค่ารักษา 16,000,000 บาท

อายุ 74 ปี ค่ารักษา 32,000,000 บาท

อายุ 80 ปี ค่ารักษา 64,000,000 บาท

อายุ 88 ปี ค่ารักษา 128,000,000 บาท

คุณรู้หรือไม่ครับว่า  ตอนนี้ปี 2022 มีนวัตกรรมเปลี่ยนหัวใจ

ค่ารักษา 50,000,000 บาทแล้วนะครับ

อนาคตอาจจะมีอะไรใหม่ๆอีกก็ได้ครับ

ผมจะไม่ขอพูดถึงประกันสุขภาพแบบจำกัดสิทธิ์นะครับ เพราะผมคิดว่าไม่ตอบโจทย์ผมและหลาย ๆ ท่านครับ  เดี๋ยวเรามาดูคร่าว ๆ กันว่าประกันสุขภาพเหมาจ่ายของอลิอันซ์ อยุธยามีอะไรบ้าง แตกต่างกันยังไง

เปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพเหมาจ่าย

หลัก ๆ แล้วบริษัทอลิอันซ์ อยุธยา มีแผนประกันสุขภาพเหมาจ่ายอยู่ 4 แผน

ในบทความนี้ผมจะเขียนอธิบายคร่าว ๆ นะครับ  ไว้โอกาสหน้าผมจะเจาะลึกรายละเอียดให้ครับ

ประกันสุขภาพเด็ก

แผนประกันเด็กเหมาจ่ายอันนี้เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการซื้อประกันสุขภาพให้กับลูก เบี้ยประกันไม่แพง  ทุนประกันสุขภาพอยู่ที่ 1.2 M สำหรับเด็กเล็ก  และเมื่อเด็กอายุ 11 ปี ทุนประกันจะปรับมาอยู่ที่ 2 M

แผนประกันนี้มีจุดด้อยที่ค่าห้องได้น้อย ลูกค้าอาจจะมีส่วนต่างที่ต้องชำระในอนาคต  ส่วนความคุ้มครอง 1.2 M หรือ 2 M นั้นก็ไม่ได้น่าเกลียดอะไร แต่อาจจะไม่สามารถคุ้มครองค่ารักษาได้ทุกโรค

แผนประกันสุขภาพเด็กเหมาจ่ายนี้ เบี้ยถูก แต่ก็ทำให้บริษัทอลิอันซ์ขาดทุน จึงทำให้ทางบริษัทออกกฎให้ซื้อประกันสุขภาพเด็กแผนนี้ควบคู่กับสัญญาเพิ่มเติม OPD ด้วยครับ

แผนประกันสุขภาพเหมาจ่าย MMK

เด็กคนที่อายุมากกว่า 10 ปีจะไม่สามารถซื้อประกันสุขภาพเด็ก เหมาจ่ายแผนนี้ได้ครับ  แต่สบายใจได้ครับ ถ้าลูกของคุณมีโรคประจำตัวที่ทำให้ไม่สามารถซื้อประกันสุขภาพแผนใหม่  คุณยังสามารถจ่ายเบี้ยปีต่อไปได้เรื่อย ๆ จนลูกคุณอายุครบ 85 ปีครับ

แผนประกันสุขภาพฉบับนี้ให้ความคุ้มครองสูงสุดที่ 1M บาท  เหมาะสำหรับคนที่มีเงินจำกัดแต่ยังต้องการที่จะซื้อประกันสุขภาพติดตัวไว้ซักเล่ม  อย่างน้อย ๆ มีอะไรฉุกเฉินขึ้นมาก็สามารถเข้ารับการรักษาเบื้องต้นที่โรงพยาบาลเอกชน  แต่ถ้าหมดวงเงินอาจจะต้องย้ายมาใช้สิทธิ์รักษาต่อที่โรงพยาบาลรัฐบาล

ประกันสุขภาพปลดล็อค สบายกระเป๋า จะคุ้มครองเฉพาะลูกค้าที่อายุ 11 – 90 ปี  โดยมี 2 แบบคือ

  1. แบบไม่มีความรับผิดส่วนแรก
  2. แบบมีความรับผิดส่วนแรก 30,000 บาทต่อรอบปีกรมธรรม์ [ ประกันสุขภาพแบบนี้ยังถูกเรียกว่า deductible ซึ่งเหมาะสำหรับผู้ที่มีสวัสดิการรักษาอยู่แล้วแต่อาจจะไม่เพียงพอ]
แผนประกันสุขภาพ ปลดล็อค สบายกระเป๋า

นี้เป็นตัวนึงของประกันสุขภาพเหมาจ่ายของอลิอันซ์ที่น่าสนใจมาก ๆ เพราะ

  1. ความคุ้มครองสูงสุด 8, 15, และ 30 ล้านบาท

  2. ถ้าคุณโชคไม่ดี ดันเป็นโรคร้าย 1 ใน 10 โรค ความคุ้มครองสูงสุดของคุณจะถูกดับเบิ้ลเท่าตัว จาก 8 >> 16, 15 >> 30 และ 30 >> 60

โดยคุณจะได้รับการดับเบิ้ลความคุ้มครองในปีกรมธรรม์ที่พบเจอโรค และอีก 4 ปีถัดไป

ดับเบิลความคุ้มครอง

เรามาดูกันว่า 10 โรคนั้นมีอะไรบ้างครับ

  1. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันจากการขาดเลือด
  2. การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ
  3. การผ่าตัดลิ้นหัวใจโดยวิธีการเปิดหัวใจ
  4. โรคหลอดเลือดสมองโป่งพองที่ต้องรักษาโดยการผ่าตัด
  5. โรคหลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน
  6. โรคมะเร็งระยะลุกลาม
  7. การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก
  8. การผ่าตัดเส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า
  9. การผ่าตัดกระดูกสันหลังคดที่ไม่ทราบสาเหตุ
  10. แผลไหม้ฉกรรจ์
10 โรคร้าย
  1. มีความคุ้มครอง OPD เพิ่มขึ้นมาครับ ไม่รวมการเจ็บป่วยแล้วไปโรงพยาบาลเพื่อขอใบรับรองแพทย์แล้วเบิกยามากินครับ แต่สิ่งที่คุณได้คือ

ผู้กรณีที่คุณเป็นผู้ป่วยใน แล้วออกจากโรงพยาบาลมา แพทย์นัดดูอาการ  คุณจะได้รับสิทธิ์ OPD follow up จำนวน 2 ครั้ง ภายในระยะเวลา 30 วันหลังจากที่คุณได้ออกมาจากโรงพยาบาลแล้ว

นอกจากนี้การทำกายภาพบำบัด  คุณก็จะได้รับสิทธิ์ 2 ครั้งต่อรอบปีกรมธรรม์ครับ

แถมคุณยังได้รับสิทธิ์ OPD follow up ในกรณีที่คุณประสบอุบัติเหตุแล้วเข้ารับการรักษาภายใน 24 ชั่วโมง  ขอยกตัวอย่างลูกผมเองแล้วกันครับ

เจ้าเวลาเข้า รพ

 

น้องเวลาเอาไม้แคะหูจิ้มหูตัวเอง จนแก้วหูทะลุ  ไปตามอ่านได้ตรงนี้ครับ

ตอนนั้นใช้ประกันเจ้าอื่นนะครับเพราะยังไม่ได้เข้ามาเป็นตัวแทนประกันชีวิต

ผมสรุปให้ครับ  เคลมภายใน 24 ชั่วโมง 1 ครั้ง

หมอนัดดูอาการ 7 วัน (แก้วหูยังอักเสบอยู่)

หมอนัดดูอาการอีก 7 วัน (เกือบหายแล้ว)

หมอนัดดูอาการอีก 7 วัน (หายแล้ว)

ประกันตัวเก่าที่ผมใช้ ไม่คุ้มครอง 2 ครั้งหลัง  ทำให้ผมต้องจ่ายเงินเอง 5,000 กว่าบาทครับ

 

Double Care OPD

 

แล้วการที่ได้สิทธิ์รักษาต่อเนื่อง  30 วันโดยไม่จำกัดจำนวนครั้งหลังจากอุบัติเหตุ  และจ่ายตามจริงนั้นดียังไง

ชีวิตจริงยิ่งกว่านิยาย  ผมเคยโดนไฟลวกตอนเด็ก ๆ ครับ น้องชายเล่นไฟ แล้วโยนมาใส่ผม

คุณรู้ไหมว่าผมต้องไปโรงพยาบาล วันเว้นวันเลยครับ  คุณแม่ผมต้องพาผมเข้าไปล้างแผลและขูดคราบไขขาว ๆ  ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าไขขาวๆมันเป็นอะไร

 

ผลประโยชน์แผนประกันสุขภาพปลดล็อค ดับเบิล แคร์

 

4. เรื่องค่าห้องผู้ป่วยใน IPD

โดยปกติแล้วเราติดปากเรียกคำว่าค่าห้องกัน  โดยทั่ว ๆ ไปแล้ว แต่ล่ะโรงพยาบาลจะมีค่าใช้จ่าย 4 อย่างครับ

  • ค่าห้อง  (Room)
  • ค่าอาหาร  (Food)
  • ค่าบริการในโรงพยาบาล  (Hospital Fee)
  • ค่าบริการทางการพยาบาล  (Nursing Fee)

แผนประกันสุขภาพเหมาจ่าย ปลดล็อค ดับเบิล แคร์ จะมีค่าห้องไม่ค่อยเยอะ แต่จะให้ค่าบริการทางการพยาบาล Nursing Fee  จ่ายตามจริง

ทำไมแผน 8M ค่าห้องแค่ 3,000 บาท++ น้อยจัง จะพอไหม?

ถ้าเป็นโรงพยาบาลเอกชนโดยทั่ว ๆ ไปแล้ว  ค่าห้องไม่เกิน 4500 น่าจะครอบคลุมหรือมีส่วนต่างนิดนึงครับ  เหตุผลคือ  ค่า Nursing Fee จะอยู่ประมาณ 900 – 1700 บาท  และบ่อยครั้งที่โรงพยาบาลให้ส่วนลดค่าห้องกับลูกค้าที่มีประกันครับ

 

ในกรณีที่คุณใช้บริการโรงพยาบาลในเครือ BDMS เช่น รพ กรุงเทพ  รพ สมิติเวช รพ บีเอ็นเอช รพ เปาโล รพ พญาไท หรือ BDMS Wellness clinic  มีแนวโน้มสูงว่า แผนประกันตัว 8M ที่มีค่าห้อง 3000++ จะต้องมีส่วนต่างเรื่องค่าห้อง

แผน 15M ที่มีค่าห้อง 6000++ ครอบคลุมเป็นบางห้อง

แผน 30M ที่มีค่าห้อง 15000++ ครอบคลุมเกือบหมด

วิธีแก้ก็พอมีครับ  เช่น การขอส่วนลดค่าห้อง  การซื้อประกันชดเชยรายได้ HB, HBP อะไรพวกนี้เป็นต้นครับ

ถ้าคุณไม่แน่ใจ หรืออยากให้ผมช่วยดูว่าค่าห้องจะพอไหม ก็ลองทักมาคุยกันดูครับ

 

แผนประกันสุขภาพปลดล็อค ดับเบิล แคร์ สำหรับผู้ชาย
แผนประกันสุขภาพปลดล็อค ดับเบิล แคร์ สำหรับผู้หญิง

คุณอาจจะคิดว่า  โอ้ย… จะเว่อไปไหน?  ประกันสุขภาพอะไรต้องจ่ายเบี้ยทิ้งเพื่อความคุ้มครอง 60M, 80M, 100M หรือ 120M?  ทุก ๆ วันนี้ค่ารักษาพยาบาลแค่ 2-3 M ก็เพียงพอแล้ว

ผมก็เป็นคนนึงครับที่เคยคิดแบบนั้น  แต่หลังจากได้เรียนรู้วิธีการคำนวณเกี่ยวกับเงินเฟ้อ  ก็ทำให้ผมเห็นว่า  ความคุ้มครองหลักล้านต้น ๆ นั้นไม่เพียงพอกับค่ารักษาพยาบาลในอนาคต

3 เหตุผลที่ค่ารักษาพยาบาลแพงขึ้น ปีล่ะ 7 – 9%

  • เงินเฟ้อ
  • ประเทศไทยไม่ได้เป็นต้นน้ำในการผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์  เรายังคงต้องพึ่งการนำเข้าอุปกรณ์ เครื่องมือ และนวัตกรรมหลาย ๆ ชิ้น จากต่างประเทศ  เมื่อเขาขึ้นราคา  รพ ในประเทศไทยก็ขึ้นราคาตามต้นทุนที่แพงขึ้น
  • นวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ทันสมัย  ย่อมมาพร้อมกับราคาที่สูงขึ้นเป็นเรื่องปกติ

My First Class เหมาะกับใคร?

  • คนที่ไม่อยากจะต้องกังวลกับค่ารักษาพยาบาลที่นับวันจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ
  • คนที่วางแผนจะมีบุตร (เฉพาะแผน 100M กับ 120M)
  • คนที่รักสุขภาพ ค่าตรวจสุขภาพประจำปี ค่าวัคซีน ค่าตรวจรักษาสายตา รวมถึงค่าทันตกรรม (ทำฟันก็เบิกเงินได้นะครับ)
My First Class BDMS

แผนประกันสุขภาพเฟริสคลาส

My First Class BDMS

เหมาะสำหรับคนที่วางแผนจะใช้บริการโรงพยาบาลในเครื่อง BDMS  เช่น โรงพยาบาลกรุงเทพ (ฺBangkok Hospital), โรงพยาบาลสมิติเวช (Samitivej), โรงพยาบาลพญาไท (Phyathai), โรงพยาบาลเปาโล (Paolo Hospital), โรงพยาบาลบีเอ็นเอช (BNH Hospital) และ โรงพยาบาลรอยัล (Royal Bangkok Hospital)

ปัจจุบันมีโรงพยาบาลในเครือข่าย BDMS อยู่  51 โรงพยาบาลในประเทศไทย และ 2 โรงพยาบาลในประเทศกัมพูชา  คุณสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี้

เครือข่าย BDMS

แผนประกันสุขภาพเฟิร์สคลาส BDMS 120 M นั้นให้ความคุ้มครองครอบคลุมทุกการรักษาพยาบาล และยังคุ้มครองเชิงป้องกันอีกด้วย

  • ค่าคลอดบุตรปกติ 200,000 บาท และในกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ หรือภาวะแทรกซ้อนขณะคลอด  วงเงินความคุ้มครองจะถูกปรับเป็น 400,000 บาท
  • ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก OPD จ่ายตามจริง
  • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและค่ากายภาพบำบัด 40,000 บาท
  • ค่าเครื่องมือแพทย์ และเวชภัณฑ์คงทน 40,000 บาท
  • ค่าฉีดวัคซีน 80,000 บาท
  • ค่าตรวจสุขภาพประจำปี 30,000 บาท
  • ค่าทันตกรรม 100,000 บาท (ชดเชย 80% ของเงินที่จ่ายไปจริง)
  • ค่าตรวจรักษาสายตา 15,000 บาท

แผนประกันสุขภาพเฟิร์สคลาส BDMS 60 M ราคาจะถูกลงมาก  แต่คุณก็ยังสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองสุขภาพเชิงป้องกันเพิ่มได้เหมือนกัน

  • ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก OPD จ่ายตามจริง
  • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและค่ากายภาพบำบัด 20,000 บาท
  • ค่าเครื่องมือแพทย์ และเวชภัณฑ์คงทน 10,000 บาท
  • ค่าฉีดวัคซีน 50,000 บาท
  • ค่าตรวจสุขภาพประจำปี 15,000 บาท
  • ค่าทันตกรรม 45,000 บาท (ชดเชย 80% ของเงินที่จ่ายไปจริง)
My First Class benifits

แผนประกันสุขภาพเฟริสคลาส

My First Class All Hospitals

 

นอกจากแผน MFC BDMS ที่กล่าวไปข้างบนแล้ว ยังมี MFC All อีกด้วย  ซึ่งจะแบ่งวงเงินคุ้มครองสูงสุดเป็น 80 M และ 100 M

แผนประกันสุขภาพเฟริสคลาส แบบ All Hospital นี้เหมาะสำหรับคนที่ไม่อยากจำกัดสิทธิ์การรักษาของตัวเองไว้เพียงแค่โรงพยาบาลในเครือ BDMS

My First Class All Hospital coverage

 

คุณอาจจะอยากใช้บริการโรงพยาบาลอื่น ๆ เช่น โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์ โรงพยาบาลศิริราชปิยมหาราชการุณย์ โรงพยาบาลพระราม 9 หรือ โรงพยาบาลในเครือ BDMS ก็ได้

โดยที่จะมีความคุ้มครองให้คุณเลือก 2 แผนคือแบบ 80 M และ 100 M

my first class all

แผนประกันสุขภาพเฟิร์สคลาส ALL 100 M นั้นให้ความคุ้มครองครอบคลุมทุกการรักษาพยาบาล และยังคุ้มครองเชิงป้องกันอีกด้วย

  • ค่าคลอดบุตรปกติ 200,000 บาท และในกรณีที่เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ หรือภาวะแทรกซ้อนขณะคลอด  วงเงินความคุ้มครองจะถูกปรับเป็น 400,000 บาท
  • ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก OPD จ่ายตามจริง
  • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและค่ากายภาพบำบัด 30,000 บาท
  • ค่าเครื่องมือแพทย์ และเวชภัณฑ์คงทน 10,000 บาท
  • ค่าฉีดวัคซีน 80,000 บาท
  • ค่าตรวจสุขภาพประจำปี 20,000 บาท
  • ค่าทันตกรรม 100,000 บาท (ชดเชย 80% ของเงินที่จ่ายไปจริง)
  • ค่าตรวจรักษาสายตา 15,000 บาท

แผนประกันสุขภาพเฟิร์สคลาส ALL 80 M ราคาจะถูกลงมาก  แต่คุณก็ยังสามารถเลือกซื้อความคุ้มครองสุขภาพเชิงป้องกันเพิ่มได้เหมือนกัน

  • ค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก OPD จ่ายตามจริง
  • เวชศาสตร์ฟื้นฟูและค่ากายภาพบำบัด 20,000 บาท
  • ค่าเครื่องมือแพทย์ และเวชภัณฑ์คงทน 10,000 บาท
  • ค่าฉีดวัคซีน 50,000 บาท
  • ค่าตรวจสุขภาพประจำปี 15,000 บาท
  • ค่าทันตกรรม 50,000 บาท (ชดเชย 80% ของเงินที่จ่ายไปจริง)
my first class benifits

อายุ

เด็กอายุ 1-5 ขวบ เบี้ยประกันจะแพง

เด็กอายุ 6-10 ขวบ เบี้ยประกันจะถูกลงประมาณ 50%

ช่วงอายุ 11 – 30 ปีเบี้ยประกันจะถูกมาก

ช่วงอายุ 31 – 60 ปีเบี้ยประกันจะค่อย ๆ แพงขึ้นเรื่อย ๆ

อายุ 65+ ปี เบี้ยประกันจะแพงมาก เห็นตัวเลขหลักแสนแน่นอน

*** ถ้าคำนวนการขึ้นราคาของเบี้ยประกันจะอยู่ที่ประมาณ 4.5 – 5% ต่อปีครับ  (คำนวนช่วงอายุ 30 – 90 ปี)  ในขณะที่ค่ารักษาพยาบาลนั้นแพงขึ้นปีล่ะประมาณ 8%

*** โดยปกติแล้ว เบี้ยประกันจะแพงขึ้นทุก ๆ 5 ปี

เพศ

เบี้ยประกันสุขภาพของเด็กผู้ชายจะแพงกว่าเด็กผู้หญิง เพราะเด็กผู้ชายค่อนข้างซน และมีโอกาสประสบอุบัติเหตุได้เยอะกว่าเด็กผู้หญิง

เมื่อเด็กโตเป็นผู้ใหญ่  เบี้ยประกันสุขภาพของผู้หญิงจะแพงกว่าผู้ชาย เพราะผู้หญิงมีอวัยวะที่ซับซ้อน และมีโอกาสเจ็บป่วยสูงกว่าผู้ชาย

ส่วนในวัยชรานั้น  เบี้ยประกันสุขภาพของผู้หญิงจะถูกกว่าผู้ชาย เพราะจากสถิติแล้วผู้หญิงอายุยืนกว่าผู้ชาย

อาชีพ

อาชีพที่คุณทำแต่ล่ะอาชีพก็มีความเสี่ยงไม่เท่ากัน  การที่จะให้คนเป็นพนักงานออฟฟิศจ่ายค่าเบี้ยประกันสุขภาพเท่ากับคนที่ทำงานเสี่ยงอันตราย  มันก็ไม่แฟร์กับพนักงานออฟฟิศจริงไหมครับ?  ตัวอย่างผมเองเลยครับ  การที่ผมทำอาชีพเป็นนักบินทำให้ผมต้องจ่ายเบี้ยประกันสุขภาพแพงกว่าคนอื่น ๆ ถึง 30%

ถ้าคนอื่นจ่าย 100 บาท  ผมจะต้องจ่าย 130 บาท

BMI (Body Mass Index)

สูตรคำนวน BMI = น้ำหนัก (kg) / [ส่วนสูง (m) x ส่วนสูง (m)]

ถ้าค่า BMI ของคุณคำนวนได้ BMI 17 – 30  คุณอยู่ในเกณฑ์ปกติ

BMI 30.1 – 36.0  คุณมีภาวะความเสี่ยงโรคอ้วน  อาจจะถูกพิจารณารับประกันแบบเพิ่มเบี้ยหรือไม่รับประกัน

แล้วถ้าคุณเป็นนักกล้าม หุ่นดี แต่ BMI เกินล่ะครับ?  ในกรณีนี้อาจจะดูเรื่องของรอบเอวประกอบด้วย

*** ในกรณีที่คุณมีภาวะเป็นโรคอ้วน แล้วถูกเพิ่มเบี้ยประกันนั้น  ถ้าน้ำหนักของคุณลดลงมาจน BMI ต่ำกว่า 30 ได้แล้ว ต้องน้ำหนักคงที่อย่างต่ำ 6 เดือน  คุณสามารถทำเรื่องขอลดเบี้ยประกันสุขภาพได้นะครับ

โรคประจำตัว Pre-existing Conditions

คุณควรจะทำประกันสุขภาพตอนที่สุขภาพยังดีอยู่  แต่ปัญหาก็คือ หลาย ๆ คนนึกถึงประกันสุขภาพเมื่อตัวเองหรือคนรอบข้างเริ่มเจ็บป่วย (ผมก็เหมือนกันครับ)

ประเด็นคือ ถ้าโรคที่คุณเป็นนั้นไม่หายขาด แต่ดั๊น…เป็นโรคเรื้อรัง  ฝ่ายพิจารณาสามารถ

  1. ปฏิเสธการรับประกัน
  2. รับประกันตามปกติ  เบี้ยเท่าเดิม
  3. รับประกันตามปกติ  เพิ่มเบี้ยประกัน
  4. รับประกันแบบมีข้อยกเว้น  เบี้ยเท่าเดิม
  5. รับประกันแบบมีข้อยกเว้น  เพิ่มเบี้ยประกัน

*** ในกรณีที่คุณเป็นโรคเรื้อรังที่หายขาดได้  คุณสามารถขอลดเบี้ยประกันและเพิ่มความคุ้มครองได้ภายหลัง  เช่น เป็นโรคกระเพาะอาหาร  บริษัทประกันอาจจะไม่คุ้มครองระบบกระเพราะอาหาร แถมยังเพิ่มเบี้ยประกันคุณอีก  >>> ผ่านไป 2 ปี >>> คุณหายขาดจากโรคนี้  คุณสามารถที่จะทำเรื่องเข้ามาขอลดเบี้ยประกัน และปรับแผนประกันให้คุ้มครองระบบกระเพาะอาหารได้นะครับ

ประกันสุขภาพมาตราฐานใหม่เริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 8 พย 2564

ทำไมถึงต้องเปลี่ยน?

เพราะประกันสุขภาพของแต่ล่ะบริษัทใช้คำพูดไม่เหมือนกัน ทำให้เข้าใจยาก ลูกค้าสับสน  ประเด็นสำคัญคือ  เมื่อผู้เอาประกันป่วยเป็นโรคเรื้อรัง บางบริษัทประกันจะปฏิเสธการรับประกันสุขภาพในปีถัดไป

แล้ว New Health Standard ดีกว่าแบบเก่ายังไง?

  • ลูกค้าเปรียบเทียบแผนประกันสุขภาพง่ายขึ้น  มีการใช้ถ้อยคำที่เหมือนกันในทั้ง 13 หมวดค่ารักษาพยาบาล
  • คุณจะไม่โดนบอกยกเลิกประกันสุขภาพ เพราะอัตราการเคลมสูง  ในกรมธรรม์จะมีเรื่อง Copayment เพิ่มเข้ามา

อะไรคือ copayment ?

Copayment คือการที่ผู้เอาประกันภัยจ่ายเงินร่วมกับบริษัทประกัน  เช่น copayment 20% หมายความว่า  ถ้าค่ารักษามา  100 บาท  บริษัทประกันจะออกเงินให้ 80 บาท และผู้เอาประกันจะต้องจ่าย 20 บาท

การที่คุณมีอัตราการเคลมที่สูง  บริษัทประกันสามารถขอปรับเงื่อนไขการรับให้คุณต้องจ่าย copayment ได้สูงสุดถึง 30% ต่อกรณี (สูงสุด 50% ต่อกรมธรรม์)

copayment

ประกันสุขภาพของอลิอันซ์ อยุธยามี Copayment เพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยล่ะ 0

ผู้เอาประกันจะไม่ต้องเอาเงินตัวเองมาจ่ายเพิ่ม

“อัตราการเคลมที่สูงไม่มีผลต่อการปรับเบี้ยประกันในปีต่อไป”

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่มีความผิดปกติกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด  เป็นโรคเรื้อรัง ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม  เบาหวานไม่ใช่เรื่องเบา ๆ เลยครับ

โรคหัวใจ

โรคหัวใจเป็นแล้วทำให้มีความเสี่ยงสูงมาก

โรคมะเร็ง

โรคมะเร็งเกิดจากเซลล์ในร่างกายที่แบ่งตัวและเจริญเติมโตผิดปกติ  จนร่างกายไม่สามารถควบคุมได้  เมื่อเซลล์เหล่านี้เจริญ หรือลุกลาม หรือแพร่กระจายไปทั่วร่างกาย  จะส่งผลให้เซลล์ปกติของเนื้อเยื่อหรืออวัยวะต่างๆ ของร่างกายไม่สามารถทำงานได้เป็นปกติ

มะเร็ง ถ้าเป็นแล้ว สามารถกลับมาเป็นได้อีก  อาจจะกลับมาเป็นในอวัยวะเดิมหรือเกิดขึ้นใหม่ในอวัยวะอื่น

เอดส์ HIV

ถ้าเป็นแล้วโรคนี้ไม่รับทำประกันสุขภาพ  และมีเกณฑ์สำหรับเด็กที่พ่อแม่ติดเชื้อ HIV แต่เด็กไม่ได้ติด

เด็กอายุน้อยกว่า 2 ปี  ยังไม่สามารถทำประกันสุขภาพได้

เด็กอายุมากกว่า 2 ปี จะต้องมีผลตรวจ HIV จากแพทย์มายื่นประกอบการพิจารณา

โรคอ้วน

ถ้า BMI ของคุณมากกว่าหรือเท่ากับ 40

ไม่รับประกันสุขภาพทุกกรณี

โรคแพ้ภูมิตนเอง

โรคแพ้ภูมิตนเอง หรือ Autoimmune disease, SLE เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติขอร่างกายทำให้เกิดการต่อต้อนเซลล์ของตนเอง  ซึ่งสามารถส่งผลต่ออวัยวะได้ทั่วร่างกายและเป็นโรคที่มีภาวะแทรกซ้อนค่อนข้างมาก

โรครูมาตอยด์

ถึงแม้ว่าจะควบคุมได้หรือรักษาหายแล้ว แต่ด้วยภาวะโรคนี้ … ก็ยังสามารถกลับมาเป็นได้อีกภายหลัง

โรคไวรัสตับอักเสบบี

เชื้อของไวรัสตับอักเสบบีจะยังคงอยู่ในร่างกาย  ขึ้นอยู่กับว่าเชื้อไวรัสนั้นจะอยู่ในภาวะสงบหรือแสดงอาการ

ทำประกันสุขภาพแล้ว ไม่ใช่ว่าจะสามารถใช้ได้เลยนะครับ  จะมีอยู่ช่วงนึงที่เราทำประกันแล้วแต่ยังไม่สามารถได้รับความคุ้มครองจากประกันสุขภาพนะครับ  เรามาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ ระยะเวลารอคอย หรือ Waiting Period กันครับ

ตามหลักแล้ว คุณควรจะทำประกันสุขภาพก่อนที่คุณจะป่วย  แต่หลาย ๆ คนป่วยแล้วถึงเพิ่งจะนึกถึงประกันสุขภาพ แล้วไม่ยอมบอกบริษัทประกันว่าตนเองป่วย   นี้เป็นเหตุผลที่บริษัทประกันมีการใช้ระยะเวลารอคอยเข้ามาประกอบการจ่ายสินไหมทดแทน

ในวันที่ประกันอนุมัติ  ความคุ้มครองที่คุณจะได้รับทันทีนั่นก็คือประกันอุบัติเหตุฉุกเฉิน  ซึ่งโดยปกติแล้วประกันสุขภาพเหมาจ่ายของอลิอันซ์จะมีความคุ้มครองอุบัติเหตุซึ่งผู้เอาประกันจะต้องเข้ารักษาตัว ณ โรงพยาบาลภายใน 24 ชม

วันที่ 15 คุณจะได้รับความคุ้มครองในกรณีที่ป่วยเป็น Covid-19  แต่จุดนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคตหลังจาก Covid-19 ถูกประกาศเป็นโรคประจำถิ่นนะครับ

วันที่ 31  คุณจะได้รับความคุ้มครองในกรณีเจ็บป่วยเป็นโรคทั่ว ๆ ไป  โดยช่วงแรกคุณจะต้องสำรองจ่ายค่ารักษาไปก่อน

วันที่ 61 คุณได้รับความคุ้มครองเกี่ยวกับโรคร้ายแรง  โรคที่มันไม่ได้เกิดขึ้นได้ในเวลา 1-2 วัน แต่เป็นโรคที่ต้องใช้เวลานานกว่าจะเป็น  แต่ตรงนี้ผมต้องบอกเลยนะครับว่า  ถ้าคุณใช้เลข 61 วันนี้เป็นตัวชี้วัด … ทางบริษัทอลิอันซ์จะทำการตรวจสอบประวัติของคุณอย่างละเอียดแน่นอนครับ  ช่วงแรกผู้เอาประกันจะต้องสำรองจ่ายไปก่อนนะครับ

ระยะเวลารอคอย

วันที่ 91 คุณสามารถใช้สิทธิ์ Fax Claim ในกรณีเจ็บป่วยทั่ว ๆ ไปได้ (ไม่ต้องสำรองจ่ายไปก่อน)  แต่ในกรณีที่เป็นโรคร้ายแรง  คุณยังจะต้องสำรองจ่ายไปก่อนนะครับ

หลังจากคุณจ่ายเบี้ยประกันปีที่ 2  ค่าตรวจร่างกาย ค่าฉีดวัคซีน สามารถนำมากเบิกประกันได้ (สำหรับแผนประกันสุขภาพเด็กเหมาจ่าย แผนประกันสุขภาพปลดล็อค สบายกระเป๋า และแผนประกันสุขภาพปลดล็อค ดับเบิล แคร์)

การเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงในช่วง 2 ปีแรก  บริษัทอลิอันซ์มีสิทธิ์ที่จะตรวจสอบประวัติสุขภาพของคุณ  ระยะเวลาการตรวจสอบนี้อาจจะนานถึง 3 เดือน คุณต้องสำรองจ่ายค่ารักษาไปก่อนนะครับและถ้าพบเจอว่าคุณเคยมีประวัติมาก่อนแล้วไม่ได้แจ้งกับทางประกัน คุณก็โดนยกเลิกกรมธรรม์ได้นะครับ

จบกันไปแล้วครับกับสาระดีๆเกี่ยวกับประกันสุขภาพเหมาจ่ายของอลิอันซ์ ขอบคุณทุก ๆ ท่านที่เข้ามาอ่านนะครับ  หวังว่าคุณจะได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อยจากบทความประกันสุขภาพเหมาจ่ายฉบับนี้นะครับ  คอมเมนต์เข้ามาได้ครับ ถ้าเป็นประโยชน์ก็ช่วยแชร์ให้คนที่คุณรักด้วยครับ  ขอบคุณครับ

ชื่นใจ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *